การฝังเข็มถือเป็นการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก ที่ทำการรักษาโรคได้มากมาย โดยไม่ต้องทานยาที่อาจส่งผลต่อตับและไตได้ในอนาคต การฝังเข็มจึงเป็นการรักษาโดยวิธีธรรมชาติและปลอดภัย ซึ่งเป็นศาสตร์ตามแพทย์แผนจีนที่มีประวัติมาอย่างยาวนานกว่าหลายพันปี แล้ว และยังได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพดีอีกด้วย แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าการฝังเข็มนั้นมีหลายประเภท โดยที่เราสามารถแบ่งประเภทของการฝังเข็มออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
การฝังเข็มแบบตะวันออกหรือฝังเข็มแบบจีน (Acupucture) และการฝังเข็มแบบตะวันตก หรือการฝังเข็มแบบแห้ง (Dry needling) ซึ่งการฝังเข็มแบบ Dry needing นั้นเป็นการฝังเข็มที่มีประโยชน์และทำการรักษาโดยให้ผลดีกับอาการปวดกล้ามเนื้อ และอาการจากโรคออฟฟิศซินโดรม
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับการฝังเข็มแบบ Dry needing ว่าคืออะไร เป็นการรักษาแบบไหน และมีประโยชน์ที่ช่วยในการรักษาอะไรได้บ้าง
การฝังเข็มแบบ Dry needling คืออะไร
การฝังเข็มแบบตะวันตก หรือการฝังเข็มแห้ง (Dry needling) เป็นการฝังเข็มแบบแพทย์สมัยใหม่ และถูกค้นพบขึ้นในช่วงปี 1980 การฝังเข็มแบบ Dry needling จะใช้เข็มที่มีขนาดเล็กฝังลงไปเฉพาะจุด และจะฝังจุดละไม่เกิน 3-5 นาที ซึ่งแตกต่างจากการฝังเข็มแบบจีนที่จะฝังหลายจุดทั่วร่างกาย และมักจะฝังทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที และทำโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการกระตุ้นเพิ่มเติม ซึ่งการฝังเข็มแบบ Dry needling จะเน้นการฝังเพื่อคลายปมของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะจุดที่เรียกว่า Trigger Point เพื่อทำให้ปมกล้ามเนื้อที่เกิดจากการหดเกร็งนั้นคลายตัวลงได้

การฝังเข็มแบบ Dry needling เหมาะกับการรักษาโรคอะไร?
การฝังเข็มแบบ Dry needling นั้นเหมาะกับการรักษากลุ่มโรคปวดกล้ามเนื้อต่างๆ อย่างกล้ามเนื้อหดเกร็งจนเป็นปม (Myofascial Pain Syndrome) และกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม เพราะสามารถทำการคลายปมของกล้ามเนื้อได้อย่างตรงจุดและเห็นผล ซึ่งการฝังเข็มแบบ Dry needling จะช่วยให้ปมกล้ามเนื้อที่หกเกร็งเป็นก้อนนั้นเกิดการกระตุกและคลายตัวลง และยังส่งผลให้ใยกล้ามเนื้อเรียงตัวใหม่ ทำให้เลือดสามารถเข้าไปเลี้ยงบริเวณกล้ามเนื้อเหล่านั้นได้ดีขึ้น
ตัวอย่างการรักษาด้วยการฝังเข็มแบบ Dry needling แล้วเห็นผลดี เช่น
- อาการปวดคอ บ่า ไหล่ ของโรคออฟฟิศซินโดรม
- อาการปวดกล้ามเนื้อที่หดเกร็งเป็นปม (เกิดจากการปวดเรื้อรังที่ไม่ได้รับการแก้ไข จนกล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นเวลานาน)
- โรครองช้ำ
- โรคที่ปวดบริเวณตามข้อต่างๆ
- กลุ่มอาการปวดหลังเรื้อรัง และการปวดหลังแบบเฉียบพลัน
ฝังเข็มแบบจีนควบคู่กับการฝังเข็มแบบ Dry needling ได้หรือไม่ ?
สามารถทำการฝังเข็มทั้งสองประเภทนี้ควบคู่กันได้ในการทำหัตถการครั้งเดียวกัน แต่อาจขึ้นอยู่กับวิธีการรักษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่าน ซึ่งการฝังเข็มแบบจีนควบคู่กับการฝังเข็มแบบ Dry needling นั้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาให้ดีขึ้นได้ กล่าวคือ หากคนไข้มีอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ แพทย์จะทำการฝังเข็มแบบ Dry needling เพื่อช่วยคลายปมของกล้ามเนื้อให้อย่างตรงจุด จนกล้ามเนื้อคลายตัวลง และหลังจากนั้นจะทำการฝังเข็มแบบจีนลงไปยังบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นลมปราณที่เกี่ยวข้อง จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด การปรับสมดุล และกระตุ้นการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ให้ทำงานได้ดีขึ้น จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพของการรักษาดีกว่าการรักษาแบบใดแบบหนึ่ง นอกจากนี้หากทำการรักษาด้วยการครอบแก้วเพิ่มเติม ก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น เพราะการครอบแก้วนั้นช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดได้ ช่วยบรรเทาอาการปวดของกล้ามเนื้อได้ดี รวมไปถึงยังช่วยขจัดสารพิษ พร้อมปรับสมดุลของร่างกายได้อีกด้วย

ขั้นตอนการฝังเข็มแบบ Dry needling และฝังเข็มแบบจีนที่ฟาจิน คลินิก เพื่อรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ และโรคกลุ่มออฟฟิศซินโดรม
- คุณหมอจะทำการตรวจแมะชีพจร และตรวจลิ้น เพื่อตรวจการไหลเวียนของเลือดในภาพรวมของร่างกาย ตรวจดูการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายว่ามีการทำงานอย่างไร สภาวะของร่างกายมีความอ่อนเพลียหรือไม่
- หากมีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อบริเวณไหน คุณหมอจะทำการตรวจอาการบริเวณที่ปวดก่อนทำการรักษา
- คุณหมอเริ่มทำการฝังเข็ม โดยเริ่มจากการฝังเข็มแบบ Dry needling ที่ใช้เข็มเข้าไปกระตุ้นเพื่อคลายปมกล้ามเนื้อจุด Trigger point ระหว่างทำการรักษากล้ามเนื้อจะมีอาการกระตุกและค่อยๆ คลายตัวลง ในบางรายอาจรู้สึกปวดหน่วงเล็กน้อยแต่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-5 นาที
- คุณหมอจะทำการฝังเข็มแบบจีน ที่เป็นการฝังเข็มค้างเอาไว้ตามแนวเส้นลมปราณ และบริเวณกล้ามเนื้อที่มีปัญหา เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด รวมถึงปรับสมดุลของร่างกาย
- ติดเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าไปยังบริเวณเข็มที่ทำการฝังรักษาเอาไว้ตามจุดต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา โดยทิ้งเอาไว้ไม่เกิน 30 นาที และทำการถอนเข็มตามบริเวณต่างๆ ออกจนหมด
- หากทำการรักษาควบคู่กับการครอบแก้วด้วย จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้ดีขึ้นด้วย เพื่อการครอบแก้วจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ปรับสมดุล และขจัดสารพิษในร่างกาย โดยมีวิธีในการครอบแก้ว ดังนี้
- คุณหมอจะใช้แก้วกลมสีใสปลอดเชื้อ มาจุดไฟหรือผ่านเปลวไฟ เพื่อให้แก้วร้อนจนไล่อากาศภายในแก้วเพื่อให้เกิดภาวะสุญญากาศ จากนั้นครอบแก้วลงบนผิวหนัง แก้วจะดูดผิวหนังและกล้ามเนื้อขึ้นมา ผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนสี เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด และปรับสมดุลการทำงานของร่างกาย ซึ่งการรักษาด้วยการครอบแก้วจะมี 2 แบบ คือการเดินแก้ว และการครอบแก้วทิ้งไว้
- การเดินแก้ว หรือการครอบแก้วแบบเคลื่อนไหว (โจ่วก้วน) จะเป็นการรูดแก้วผ่านบริเวณที่มีอาการ หรือตามแนวปราณ ซึ่งใช้ระยะเวลาไม่นาน เป็นการช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด รักษาอาการปวดจากลมปราณติดขัด อาการชา และปรับสมดุลให้พลังงานภายในทำงานได้อย่างสมดุล
- การครอบแก้วทิ้งไว้ จะเป็นการครอบลงยังบริเวณจุดที่มีอาการ โดยเป็นการรักษาอาการปวดจากความเย็น โดยแก้วสุญญากาศจะทำการดูดผิวหนังและกล้ามเนื้อเข้ามาภายในแก้ว และปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที
7. เมื่อครบเวลาที่กำหนด คุณหมอจะถอดแก้วออก และจบการรักษา

จะเห็นได้ว่าการฝังเข็มแบบ Dry needling นั้นเหมาะกับการรักษาโรคเกี่ยวกับการปวดกล้ามเนื้อบริเวณต่าง ๆ กลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม และโรครองช้ำ ซึ่งเป็นการรักษาที่ตรงจุด และได้ผลลัพธ์ที่ดี เพราะเป็นการใช้เข็มเข้าไปกระตุ้นและคลายปมของกล้ามเนื้อที่มีปัญหาได้โดยตรง ซึ่งสามารถทำการรักษาไปควบคู่กับการฝังเข็มแบบจีน รวมถึงรักษาควบคู่ไปกับการครอบแก้วได้เช่นกัน โดยจะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้เห็ผลดียิ่งขึ้นไปอีก
สำหรับใครที่กำลังอยากลองรักษาด้วยการฝังเข็มแบบ Dry needling เพื่อรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ อาการของโรคออฟฟิศซินโดรมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ฟาจิน คลินิก เป็นคลินิกแพทย์แผนจีนแบบครบวงจร เรามีบริการฝังเข็มแบบ Dry needling ฝังเข็มแบบจีน และครอบแก้วรักษาโรคต่าง ๆ อย่างครอบคลุม ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เรียนจบจากประเทศจีนทุกคน พร้อมโปรโมชั่นดีๆ สนใจทำการรักษาติดต่อแอดมินเข้ามารักษาได้เลย
Fa Jin Clinic – ฟาจินคลินิก ฝังเข็ม ครอบแก้ว สุขุมวิท 50 Bts อ่อนนุช
ฝังเข็ม ครอบแก้ว ทุยหนา จัดกระดูก
ศาสตร์แพทย์แผนจีนครบวงจร
ติดต่อสอบถามและนัดหมาย
โทร: 086-994-6454
Line Official: @fajinclinic หรือคลิกที่นี่